ฟูลมูลปาตี้บนเกาะพงัน ที่ทุกคนใฝ่ฝันถึงว่า ซักวันจะต้องมาเที่ยวที่นี่ให้จงได้
ยินดีต้อนรับทุกท่านสู่งาน เค้าดาวฟูลมูลปาตี้ บนเกาะพงัน
งานยังไม่เริ่มยังมีเวลาเดินสำรวจหาร้านค้า ที่ถูกใจ เพื่อรอเวลางานเปิด
ทุกผับ ทุกบาร์ ทุกรีสอร์ท จะโชเครื่องเสียงพร้อมๆกันในวันนี้ ตรงไหนเสียงดีจะมีคนมาใช้บริการมาก
บัทเก็จ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ร้านค้าต่างจะนำบัทเก็จออกมาจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว
หลากหลายรูปแบบหลากหลายราคาแล้วแต่จะเลือก กับบัทเก็จ ที่ทุกคนจะต้องมี
บัทเก็จนี้ราคาอยู่ที่ 150 /ถัง ขายพร้อมถัง พร้อมน้ำแข็ง
ตลอดแนวของชายหาด ยามค่ำคืนน้ำจะลงต่ำสุด นั่นเว็ปๆเซ้เว่น
น้ำจะลงต่ำสุดในเวลากลางคืน จึงเกิดมีหาดทรายที่กว้างและยาวแบบนี้ ครั้งหนึ่งของชีวิตต้องมาซักครั้ง
ต่างคนต่างเลือกจับจองที่นั่ง เพื่อความมันสุดๆกันในค่ำคืนนี้
โชควงไฟ จะมีให้เห็นทุกๆคำคืนของการมีงานปาตี้ฟูลมูล หลากลีลาของไทยและเทศ
ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ จริงหรือเท็จเรามาพิสูจณ์กันที่งานปาตี้ฟูลมูลบนเกาะพงัน
เช้าแล้ว จบงานแล้ว เห็นถุงดำข้างๆมะครับ ช่วยกันคนละไม้คนละมือครับ เก็บขยะพร้อมกัน
เหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดีกับขยะที่คุณๆทั้งหลายฝากเอาไว้
แล้วมาเจอกันใหม่ที่เกาะพงัน ในฟูลมูลปาตี้ครั้งต่อไป
วันว่างๆ ที่ไร้สาระ
บล็อกของฉัน
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554
พักที่ปาย แม่ฮ่องสอน / ปาย ฮอท สปริง รีสอร์ท แอนด์ สปา
ด้วยความแตกต่าง จากรูปแบบและจากน้ำแร่ที่ต่อเข้าถึงทุกห้องพักของ ปาย ฮอทสปริง รีสอร์ทแอนด์สปา ที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยเติมเต็มความสุขสำราญให้กับ การท่องเที่ยวของท่าน กับปาย เมืองเล็กๆที่เงียบสงบและห่างไกลความวุ่นวายต่างๆ บรรยากาศที่หนาวเย็นเกือบทั้งปี ผสานกับวิวทิวทัศน์ทางธรรมชาติ ทั้ง ภูเขา แม่น้ำ น้ำตก ยิ่งทำให้ ปาย และ ปาย ฮอทสปริง รีสอร์ทแอนด์สปา เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
กิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่น่าสนใจ :
• ผ่อนคลายด้วยการแช่น้ำแร่ธรรมชาติ
• ขี่จักรยาน
• ล่องแพชมวิถีชีวิตสองฝั่งลำน้ำปาย
• ขี่ช้างชมธรรมชาติ
• เดินป่าสำรวจธรรมชาติ
• สัมผัสความงามในถ้ำธรรมชาติ
กิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียงที่น่าสนใจ :
• ผ่อนคลายด้วยการแช่น้ำแร่ธรรมชาติ
• ขี่จักรยาน
• ล่องแพชมวิถีชีวิตสองฝั่งลำน้ำปาย
• ขี่ช้างชมธรรมชาติ
• เดินป่าสำรวจธรรมชาติ
• สัมผัสความงามในถ้ำธรรมชาติ
ตลาดน้ำอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตลาดน้ำอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเชิงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาทั้งด้านการแต่งกายสถาปัตยกรรมที่งดงามและคงเอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และแสดงพื้นบ้าน ของกินของใช้ในยุคเก่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ที่เรียบง่าย
ตลาดน้ำอโยธยา เป็นจุดศูนย์รวมนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ เรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อ สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน
จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งที่ตลาดน้ำอโยธยาได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ คือการนำชื่ออำเภอทั้งหมดของ จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาทั้งหมด มาตั้งเป็นชื่ออาคาร สถานที่ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้รู้จักสินค้าของแต่ละอำเภอ และสามารถจดจำชื่ออำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี
ปณิธาน ความตั้งใจเพื่อให้ตลาดน้ำอโยธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ผู้ที่มาเยือนได้ศึกษาเรียน รู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย เห็นคุณค่าของศิลปะและ วัฒนธรรมของไทยแผ่นดินอันอบอุ่นของไทย ที่บรรพชนรุ่นก่อนได้ต่อสู้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีที่อยู่ที่อาศัยและ ควรรักษาๆไว้ให้ดีอีกนาน
วิถีไทยในอยุธยา
ในพระนครศรีอยุธยาเต็มไปด้วยวัดวาอาราม เพราะประชาการในกรุงศรีอยุธยาไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูงหรือชนชั้นต่ำ ล้วนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถวาท ความมั่งคั่งที่ได้จากการค้าขายของกรุงศรีอยุธยามักหมดไปเพื่อสร้างวัด อันเป็นแหล่งรวมของศิลปะสถาปัตยกรรมฝีมือช่างหลวงและช่างชาวบ้าน
วิถีชีวิตของชาวบ้านส่วนมากอยู่เรือนไม้ไผ่ริมน้ำ ทำนาปลูกข้าวที่ต้องพึงพาธรรมชาติ จึงมีประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตรกรรมหลายอย่าง เช่น ขอฝน ทำขวัญข้าว แข่งเรือ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีอาชีพทำงานหัตถกรรม เช่น ปั้นหม้อ ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน แกะไม้ ถลุงเหล็กฯลฯประเพณีเหล่านี้ยังสืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังคงมีอยู่
การเดินทาง
*โดยรถยนต์
มาตามเส้นทางถนนสายเอเชีย เลี้ยวช้ายเข้าเมืองอุยธยาแล้วมุ่งหน้าไปตามถนนโรจนะ โดยขับตรงไปถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม ก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นวนรอบวงเวียนเจดีย์ และเลี้ยวขวาไปทางวัดมเหยงคณ์ จะพบตลาดน้ำอโยธยา แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
*โดยรถประจำทาง
รถยนต์ต่างจังหวัด (บขส.) กรุงเทพ-อยุธยา รถสองแถวในตังจังหวัด ลงที่ปากทางเข้าวัดมเหยงคณ์ แล้วมีรถสามล้อเครื่องรับจ้างบริการไปส่งถึงตลาดน้ำอโยธยา
ตลาดน้ำอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเชิงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาทั้งด้านการแต่งกายสถาปัตยกรรมที่งดงามและคงเอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และแสดงพื้นบ้าน ของกินของใช้ในยุคเก่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ที่เรียบง่าย
ตลาดน้ำอโยธยา เป็นจุดศูนย์รวมนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ เรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อ สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน
จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งที่ตลาดน้ำอโยธยาได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ คือการนำชื่ออำเภอทั้งหมดของ จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาทั้งหมด มาตั้งเป็นชื่ออาคาร สถานที่ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้รู้จักสินค้าของแต่ละอำเภอ และสามารถจดจำชื่ออำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี
ปณิธาน ความตั้งใจเพื่อให้ตลาดน้ำอโยธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ผู้ที่มาเยือนได้ศึกษาเรียน รู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย เห็นคุณค่าของศิลปะและ วัฒนธรรมของไทยแผ่นดินอันอบอุ่นของไทย ที่บรรพชนรุ่นก่อนได้ต่อสู้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีที่อยู่ที่อาศัยและ ควรรักษาๆไว้ให้ดีอีกนาน
วิถีไทยในอยุธยา
ในพระนครศรีอยุธยาเต็มไปด้วยวัดวาอาราม เพราะประชาการในกรุงศรีอยุธยาไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูงหรือชนชั้นต่ำ ล้วนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถวาท ความมั่งคั่งที่ได้จากการค้าขายของกรุงศรีอยุธยามักหมดไปเพื่อสร้างวัด อันเป็นแหล่งรวมของศิลปะสถาปัตยกรรมฝีมือช่างหลวงและช่างชาวบ้าน
วิถีชีวิตของชาวบ้านส่วนมากอยู่เรือนไม้ไผ่ริมน้ำ ทำนาปลูกข้าวที่ต้องพึงพาธรรมชาติ จึงมีประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตรกรรมหลายอย่าง เช่น ขอฝน ทำขวัญข้าว แข่งเรือ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีอาชีพทำงานหัตถกรรม เช่น ปั้นหม้อ ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน แกะไม้ ถลุงเหล็กฯลฯประเพณีเหล่านี้ยังสืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังคงมีอยู่
การเดินทาง
*โดยรถยนต์
มาตามเส้นทางถนนสายเอเชีย เลี้ยวช้ายเข้าเมืองอุยธยาแล้วมุ่งหน้าไปตามถนนโรจนะ โดยขับตรงไปถึงเจดีย์วัดสามปลื้ม ก่อนขึ้นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นวนรอบวงเวียนเจดีย์ และเลี้ยวขวาไปทางวัดมเหยงคณ์ จะพบตลาดน้ำอโยธยา แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
*โดยรถประจำทาง
รถยนต์ต่างจังหวัด (บขส.) กรุงเทพ-อยุธยา รถสองแถวในตังจังหวัด ลงที่ปากทางเข้าวัดมเหยงคณ์ แล้วมีรถสามล้อเครื่องรับจ้างบริการไปส่งถึงตลาดน้ำอโยธยา
วัดจุฬามณี
วัดจุฬามณี
เป็นวัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวา ต่อเนื่องกับคลองผีหลอก สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินีกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้นบริเวณหลังวัด เดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค และคุณบุญรอด (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2)
เป็นวัดโบราณริมฝั่งคลองอัมพวา ต่อเนื่องกับคลองผีหลอก สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชกาลพระเจ้าปราสาททอง สันนิษฐานว่า ท้าวแก้วผลึก (น้อย) นายตลาดบางช้าง ต้นวงศ์ราชินีกุลบางช้างเป็นผู้สร้างขึ้นบริเวณหลังวัด เดิมเป็นนิวาสสถานของคุณนาค และคุณบุญรอด (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ และสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2)
อัมพวา
อัมพวา
ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ตลาดน้ำอัมพวา นับว่าเป็นจุดที่ท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์อีกแห่งหนึ่งในอำเภอ อัมพวา เป็นสถานที่ ที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ การเที่ยวตลาดน้ำอัมพวานั้น สามารถทำได้ทั้งยามเช้าและยามเย็น ซึ่งจะให้บรรยาการที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศนิยมที่จะมาพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์ แนะนำ บ้านอัมพวา รีสอร์ท
ตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
ตลาดน้ำอัมพวา นับว่าเป็นจุดที่ท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์อีกแห่งหนึ่งในอำเภอ อัมพวา เป็นสถานที่ ที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ การเที่ยวตลาดน้ำอัมพวานั้น สามารถทำได้ทั้งยามเช้าและยามเย็น ซึ่งจะให้บรรยาการที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศนิยมที่จะมาพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์ แนะนำ บ้านอัมพวา รีสอร์ท
ประเพณีผีตาโขน > งานประเพณีบุญหลวง
งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน
อ. ด่านซ้าย จ. เลย
เชิญเที่ยว "งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน
จังหวัดเลย โดยอำเภอด่านซ้าย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเลย ขอเชิญร่วมงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ และมีเพียงแห่งเดียวในโลก คือ งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย ณ วัดโพนชัย และบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย
นางอัจฉพรรณ บุญเจริญ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเลย กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของประเพณีนี้ว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่นโดยรวมเอา “งานบุญพระเวส” (ฮีตเดือนสี่) และ “งานบุญบั้งไฟ” (ฮีตเดือนหก) เข้าไว้เป็นงานบุญเดียวกัน งานบุญพระเวสนั้นเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาชาติ ทั้ง 13 กัณฑ์ เชื่อกันว่าจะได้รับอานิสงส์แรงกล้าบันดาลให้พบพระศรีอริยเมตไตรย์ในชาติหน้า ส่วนงานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองและถือเป็นประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ในงานบุญหลวงนี้จะมีกองทัพ “ผีตาโขน” ออกวาดลวดลายทั่วเมืองด่านซ้ายร่วมสร้างความสนุกสนานครื้นเครงในขบวนแห่ด้วย ที่มาของคำว่า “ผีตาโขน” นั้นบ้างก็ว่าน่าจะมาจากการที่ผีเหล่านี้สวมหน้ากากคล้ายลักษณะของหัวโขน แต่เดิมบางคนเรียกว่า “ผีตาขน” แต่ก็หาความหมายไม่ได้ชัดแจ้ง และจากคำบอกเล่าของเจ้าพ่อกวนคณะเข้าทรงว่า “ผีตามคน” ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “ผีตาโขน” ในที่สุด
กิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ พิธีเบิกพระอุปคุต พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวน-เจ้าแม่นางเทียม ขบวนแห่ผีตาโขน ขบวนแห่เจ้าพ่อกวน-เจ้าแม่นางเทียม และคณะพ่อแสน ขบวนรถเทิดพระเกียรติ ขบวนแห่ของเทศบาล และอบต. กิจกรรมการแสดงบนเวที พิธีบายศรีสู่ขวัญพระเวส ขบวนพิธีอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง พิธีจุดบั้งไฟบูชาพญาแถน พิธีทิ้งหน้ากากผีตาโขน พิธีเทศน์มหาชาติ 13
อ. ด่านซ้าย จ. เลย
เชิญเที่ยว "งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน
จังหวัดเลย โดยอำเภอด่านซ้าย ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเลย ขอเชิญร่วมงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ และมีเพียงแห่งเดียวในโลก คือ งานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย ณ วัดโพนชัย และบริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอด่านซ้าย
นางอัจฉพรรณ บุญเจริญ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเลย กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของประเพณีนี้ว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีของท้องถิ่นโดยรวมเอา “งานบุญพระเวส” (ฮีตเดือนสี่) และ “งานบุญบั้งไฟ” (ฮีตเดือนหก) เข้าไว้เป็นงานบุญเดียวกัน งานบุญพระเวสนั้นเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อฟังเทศน์มหาชาติ ทั้ง 13 กัณฑ์ เชื่อกันว่าจะได้รับอานิสงส์แรงกล้าบันดาลให้พบพระศรีอริยเมตไตรย์ในชาติหน้า ส่วนงานบุญบั้งไฟเป็นงานบุญที่จัดขึ้นเพื่อบูชาอารักษ์หลักเมืองและถือเป็นประเพณีการแห่ขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ในงานบุญหลวงนี้จะมีกองทัพ “ผีตาโขน” ออกวาดลวดลายทั่วเมืองด่านซ้ายร่วมสร้างความสนุกสนานครื้นเครงในขบวนแห่ด้วย ที่มาของคำว่า “ผีตาโขน” นั้นบ้างก็ว่าน่าจะมาจากการที่ผีเหล่านี้สวมหน้ากากคล้ายลักษณะของหัวโขน แต่เดิมบางคนเรียกว่า “ผีตาขน” แต่ก็หาความหมายไม่ได้ชัดแจ้ง และจากคำบอกเล่าของเจ้าพ่อกวนคณะเข้าทรงว่า “ผีตามคน” ต่อมาจึงเพี้ยนเป็น “ผีตาโขน” ในที่สุด
กิจกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ พิธีเบิกพระอุปคุต พิธีบายศรีสู่ขวัญเจ้าพ่อกวน-เจ้าแม่นางเทียม ขบวนแห่ผีตาโขน ขบวนแห่เจ้าพ่อกวน-เจ้าแม่นางเทียม และคณะพ่อแสน ขบวนรถเทิดพระเกียรติ ขบวนแห่ของเทศบาล และอบต. กิจกรรมการแสดงบนเวที พิธีบายศรีสู่ขวัญพระเวส ขบวนพิธีอัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมือง พิธีจุดบั้งไฟบูชาพญาแถน พิธีทิ้งหน้ากากผีตาโขน พิธีเทศน์มหาชาติ 13
จุดชมวิว ภูทอก
ภูทอก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองเชียงคาน เป็นเพียงภูเขาลูกเล็กๆ แต่ภูทอกแห่งนี้ก็มีเสน่ห์ที่เป็น
จุดชมวิว ชมความงามของแม่น้ำโขง เมืองสานะคาม และแก่งคุดคู้ได้อย่างชัดเจน และเสน่ห์ยิ่งกว่านั้น
ของภูทอก ในฤดูฝนและฤดูหนาวจะถูกปกคลุมไปด้วยผ้าห่มหมอก หากได้มองจากยอดภูทอก
จะเห็นเป็นทะเลหมอกได้แบบรอบทิศเลยทีเดียว
การเดินทาง สามารถขับรถขึ้นไปได้ ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะ รถเก๋ง เริ่มจากซอยข้างโรงพยาบาลเชียงคาน ตรงไปเรื่อยๆ จนถึงทางสามแยกตีนภูทอก แล้วเลี้ยวซ้ายตามถนนตัดใหม่ จะเป็นทางเข้า
สู่เส้นทางขึ้นยอดภูทอก หากไม่ทราบเส้นทางที่แน่ชัดก็สามารถสอบถามคนเชียงคานได้เลย
วันพืชสวนโลก
งานพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ หรือราชพฤกษ์ เป็นการแสดงพันธุ์ไม้กลางแจ้ง แสดงพืชพันธ์ต่างๆถึง 2200 ชนิด นับเป็นการแสดงพืชพันธุ์เขตร้อนที่สมบูรณ์ที่สุดในโลก วัตถุประสงค์ของการจัดงาน คือเพื่อเฉลิมพระกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา งานพืชสวนโลก เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2549 จนถึงปัจจุบัน
ที่งานพืชสวนโลกท่านจะไ้ด้ชมกับพืชพันธุ์ต่างๆชนิด ที่จัดวางตกแต่งไว้อย่างสวยงาม บนเนื้อที่ถึง 470 ไร่ งานจะแบ่งเป็นโซนต่างๆ เช่นสวน กล้วยไม้ สวนผลไม้เขตร้อน พรรณไม้เขตร้อน สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารแสดงโลกแมลง ฯลฯ ไฮไลท์ของงานพืชสวนโลกอยู่ที่หอคำหลวง ซึ่่งเป็นสถานที่ี่จัดแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทางด้านการเกษตร
ที่งานพืชสวนโลกท่านจะไ้ด้ชมกับพืชพันธุ์ต่างๆชนิด ที่จัดวางตกแต่งไว้อย่างสวยงาม บนเนื้อที่ถึง 470 ไร่ งานจะแบ่งเป็นโซนต่างๆ เช่นสวน กล้วยไม้ สวนผลไม้เขตร้อน พรรณไม้เขตร้อน สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารแสดงโลกแมลง ฯลฯ ไฮไลท์ของงานพืชสวนโลกอยู่ที่หอคำหลวง ซึ่่งเป็นสถานที่ี่จัดแสดงนิทรรศการพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทางด้านการเกษตร
ถนนคนเดินวันอาทิตย์
ถนนคนเดินวันอาทิตย์ ตั้งอยู่บริเวณประตูท่าแพ ยาวไปถึงวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เริ่มเปิดให้เดินในเวลาหัวค่ำถึงเที่ยงคืน บนถนนคนเดินจะมสิี้นค้าให้ท่านเลือกชมมากมาก เช่นของประดับตกแต่งบ้าน สไตล์พื้นเมืองทางภาคเหนือ มีภาพเขียน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะ วางให้เลือกกันให้เต็มอิ่ม ของส่วนใหญ่เป็นงานทำมือ ที่ผู้ขายทำมาขายเอง ตลอดทางเดินของถนนคนเดิน จะมีการเล่นดนตรีของนักศึกษา และคนทั่วไป รวมไปถึงวงดนตรีของคนตาบอด ก็มีให้ท่านได้ชมได้ฟังที่นี่ครับ นอกจากนี้ วัดต่างๆที่อยู่รอบๆถนนคนเดิน จะเปิดให้ท่านได้ชมเป็นพิเศษในวันอาทิตย์ด้วย
ถนนคนเดินในเชียงใหม่ ยังมีอีกแห่งหนึ่งซึ่งเปิดในวันเสาร์ ตั้งอยู่ที่ถนนวัวลาย ใกล้กับประตูเชียงใหม่ สินค้าที่ขายจะน้อยกว่าถนนคนเดินวันอาิทิตย์ แต่หากใครพลาด ถนนคนเดินวันอาทิตย์ ก็มาถนนคนเดินวัวลายแทนได้
ถนนคนเดินในเชียงใหม่ ยังมีอีกแห่งหนึ่งซึ่งเปิดในวันเสาร์ ตั้งอยู่ที่ถนนวัวลาย ใกล้กับประตูเชียงใหม่ สินค้าที่ขายจะน้อยกว่าถนนคนเดินวันอาิทิตย์ แต่หากใครพลาด ถนนคนเดินวันอาทิตย์ ก็มาถนนคนเดินวัวลายแทนได้
สวนสัตว์เชียงใหม่จร้า
สวนสัตว์เชียงใหม่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่กำลังเป็นที่นิยมมากในจังหวัดเชีัยงใหม่ ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ใกล้กับมหาวิทยาลัยเชีัยงใหม่ สวนสัตว์เชียงใหม่มีเนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ มีสัตว์อยู่มากกว่า 2,000 ชนิดให้ท่านเลือกชม รวมทั้งหลินปิง หมีแพนด้าน้อยแสนน่ารัก ที่กลายเป็นดาราประจำเมืองเชียงใหม่ไปเสียแล้ว นอกจากนี้ัยังมีหมีโคล่า นกเพนกวิน นกฟิงซ์ และสัตว์อื่นๆนานาชนิดจากทั้งไทย และต่างประเทศให้ท่านได้ชม สวนสัตว์เชียงใหม่ยังมี เชียงใหม่ซูอควาเรียม เป็นศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำครบวงจร ซึ่งมีอุโมงค์ใต้น้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย แสดงสัตว์น้ำจืดและน้ำเค็มจำนวนกว่า 20,000 ตัว ที่สวนสัตว์เชียงใหม่ยังมีการแสดงของสัตว์แสนรู้ให้ท่านชมอีกด้วย
การเิดินทางมาสวนสัตว์เชียงใหม่ สามารถมาด้วยรถส่วนตัว หรือรถแดงก็ได้ ค่าเข้าชมสวนสัตว์ ผู้ใหญ่คนละ 50 บาท เด็กคนละ 10 บาท ค่าเข้าชมหมีแพนด้า ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ภายในสวนสัตว์มีรถไว้บริการรับส่งไปที่จุดชมสัตว์ต่างๆ ค่าบริการคนละ 20 บาท ขึ้นลงกี่รอบก็ได้
การเิดินทางมาสวนสัตว์เชียงใหม่ สามารถมาด้วยรถส่วนตัว หรือรถแดงก็ได้ ค่าเข้าชมสวนสัตว์ ผู้ใหญ่คนละ 50 บาท เด็กคนละ 10 บาท ค่าเข้าชมหมีแพนด้า ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ภายในสวนสัตว์มีรถไว้บริการรับส่งไปที่จุดชมสัตว์ต่างๆ ค่าบริการคนละ 20 บาท ขึ้นลงกี่รอบก็ได้
ดอยอินทนนท์
มาเยือนเชียงใหม่ทั้งที่ ต้องมาสัมผัสอากาศหนาวบนยอดดอยที่ได้ชื่อว่าสูงที่สุดในประเทศไทย ที่นี่เลยครับ ยอดดอยอินทนนท์ การเดินทางมาจากเชียงใหม่สามารถเดินทางมาได้หลายวิธีครับ จะมาโดยรถส่วนตัว เหมารถตู้ จ้างรถแดง หรือขึ้นรถประจำทางมาก็ได้ครับ ถ้ามาด้วยรถประจำทาง ที่บริเวณเชิงดอยจะมีรถรับจ้างพาขึ้นไปบนดอยอีกทีหนึ่งครับ
บนดอยอินทนนท์ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายที่ครับ นอกจากการไปถ่ายรูปกับป้าย "สูงสุดแดนสยาม" ที่เป็นที่โด่งดังแล้ว บนดอยอินทนนท์ยังมี พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ที่กองทัพอากาศ ร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุนภเมทนีดล สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปี พ.ศ. 2530 และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ สร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปีพ.ศ. 2535 ที่บริเวณนี้ ท่านจะสามารถมองเห็นวิวของดอยอินทนนท์ได้โดยรอบ และที่นี่ ท่านจะได้สัมผัสกับเมฆที่เคลื่อนลงต่ำมาจนเหมือนกับจะเอื้อมมือจับได้
บนดอยอินทนนท์ยังมีหมู่บ้านชาวเขา และเส้นทางเดินป่าเพื่อสำรวจธรรมชาติ ให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวเขา และสัมผัสกับบรรยากาศ ของป่าไม้บนยอดดอยเมืองเหนืออีกด้วย
ป้ายสูงสุดแดนสยาม บนยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่่
พระธาตุบนยอดดอยอิืนทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
บนดอยอินทนนท์ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายที่ครับ นอกจากการไปถ่ายรูปกับป้าย "สูงสุดแดนสยาม" ที่เป็นที่โด่งดังแล้ว บนดอยอินทนนท์ยังมี พระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ ที่กองทัพอากาศ ร่วมกับพสกนิกรชาวไทย โดยพระมหาธาตุนภเมทนีดล สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปี พ.ศ. 2530 และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ สร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบเมื่อปีพ.ศ. 2535 ที่บริเวณนี้ ท่านจะสามารถมองเห็นวิวของดอยอินทนนท์ได้โดยรอบ และที่นี่ ท่านจะได้สัมผัสกับเมฆที่เคลื่อนลงต่ำมาจนเหมือนกับจะเอื้อมมือจับได้
บนดอยอินทนนท์ยังมีหมู่บ้านชาวเขา และเส้นทางเดินป่าเพื่อสำรวจธรรมชาติ ให้ท่านได้ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตของชาวเขา และสัมผัสกับบรรยากาศ ของป่าไม้บนยอดดอยเมืองเหนืออีกด้วย
ป้ายสูงสุดแดนสยาม บนยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่่
พระธาตุบนยอดดอยอิืนทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
เที่ยวเชียงใหม่เจ้า
ดอยสุเทพ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ที่ดอยสุเทพ มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง บริเวณเชิงดอย มีสวนสัตว์เชียงใหม่ให้ท่านได้เพลิดเพลินกับการชมสัตว์ป่าหลากชนิด เมื่อขึ้นดอยไปเล็กน้อย จะมีลานบูชาครูบาศรีวิชัย ผู้ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์สำคัญ ที่ได้ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองในภาคเหนือ เมื่อขึ้นดอยไปได้ 1 กิโลเมตร ท่านจะพบกับน้ำตกห้วยแก้ว อันเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวเชียงใหม่
พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
บนดอยสุเทพ มีวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งเ็ป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ให้นักท่องเที่ยวได้มากราบไหว้บูชาเป็นศิริมงคล เมื่อกราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพเสร็จแล้ว ขับรถต่อขึ้นไปบนดอยสุเทพอีก 4 กิโลเมตร ท่านจะมาถึงพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ซึ่งบริเวณรอบพระตำหนัก ตกแต่งด้วยสวนดอกไม้นานาพรรณอย่างสวยงาม หากท่านยังมีเวลาเหลือ ขึ้นต่อไปอีกบนดอยสุเทพ จะเป็นดอยปุย ซึ่งมีหมูบ้านม้งตั้งอยู่ ท่านสามารถเยี่ยมชมหมู่บ้านม้ง เช่าชุดชาวเขามาถ่ายรูป หรือพักค้างคืนบนดอยปุยก็ได้
พระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่
บนดอยสุเทพ มีวัดพระธาตุดอยสุเทพ ซึ่งเ็ป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมืองเชียงใหม่ ให้นักท่องเที่ยวได้มากราบไหว้บูชาเป็นศิริมงคล เมื่อกราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพเสร็จแล้ว ขับรถต่อขึ้นไปบนดอยสุเทพอีก 4 กิโลเมตร ท่านจะมาถึงพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ซึ่งบริเวณรอบพระตำหนัก ตกแต่งด้วยสวนดอกไม้นานาพรรณอย่างสวยงาม หากท่านยังมีเวลาเหลือ ขึ้นต่อไปอีกบนดอยสุเทพ จะเป็นดอยปุย ซึ่งมีหมูบ้านม้งตั้งอยู่ ท่านสามารถเยี่ยมชมหมู่บ้านม้ง เช่าชุดชาวเขามาถ่ายรูป หรือพักค้างคืนบนดอยปุยก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ประวัติศาสตร์
ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คืออาณาจักรโกคูรยอ อาณาจักรแพกเจ และอาณาจักรชิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของจีน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร
ราชวงศ์โชซอน เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเกาหลี หลังจากสิ้นสุดรัชสมัยของพระจักรพรรดิซุนจง เกาหลีก็ได้ถูกปกครองโดยญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2453
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีต้องแยกเป็นสองประเทศตามข้อตกลงพอตสดัม (Potsdam) ในปี พ.ศ. 2488 โดยใช้เส้นขนาน 38 และเกาหลีใต้ อยู่ในการดูแลโดยสหรัฐอเมริกา ต่อมาจะต้องผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจหลังจากอยู่ภายใต้การดูแลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยเน้นในเศรษฐกิจเป็นสากลยิ่งขึ้น ยุติการเข้าแทรกแซงของรัฐบาลในธุรกิจเอกชน และให้ความยุติธรรมต่อภาคเอกชนทุกแห่ง และเร่งสร้างความร่วมมือระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ให้อยู่ร่วมอย่างสันติ
เกี่ยวกับประชากรเกาหลีใต้
เชื้อชาติ : ประเทศเกาหลีแทบจะไม่มีชนชาติอื่นนอกจากคนเกาหลีเอง แต่ก็มีชาวจีนประมาณ 3 หมื่นคน ซึ่งอยู่ตามเขตเมืองหลวงมาช้านานแล้ว และยังมีชาวฟิลิปปินส์อีก 72,000 คน
ศาสนา : ชาวเกาหลีใต้ไม่มีศาสนาประมาณ 46 % ศาสนาคริสต์ 26 % ศาสนาพุทธ 26 % ลัทธิขงจื๊อ 1 % ศาสนาชอนโดเกียว ศาสนาอิสลาม และอื่นๆ 1 %
วัฒนธรรม
ศิลปะเกาหลีมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้เกิดแบบของตัวเอง ศิลปะเกาหลียกย่องธรรมชาติ และการใช้สีอ่อนและเรียบก็ปรากฏอยู่เสมอในภาพเขียนและเครื่องปั้นแบบเกาหลี
ศิลปะเกาหลี
ศิลปะเกาหลีมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้เกิดแบบของตัวเอง ศิลปะเกาหลียกย่องธรรมชาติ และการใช้สีอ่อนและเรียบก็ปรากฏอยู่เสมอในภาพเขียนและเครื่องปั้นแบบเกาหลีวัฒนธรรม งานหัตธรรมพื้นบ้านคือศิลปะที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปีงานไม้และเครื่องเขินของเกาหลีเป็นที่รู้จักกันดี โดยเน้นการออกแบบที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยและความเรียบง่ายสิ่งสะดุดตาในงานไม้เกาหลีคือศิลปะการประดับมุก งานหัตกรรมโลหะทำด้วยทองทำด้วยสำริด ทางด้านพระพุทธศาสนามีการสร้างพระพุทธรูปสำริด ระฆังวัดที่หล่อด้วยสำริด เอกลักษณ์ของระฆัง เกาหลีคือรูปร่างการออกแบบและเสียง ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาเกาหลีเป็นประเทศที่เป็นที่ยอมรับในการพัฒนาศิลปะด้านนี้และเครื่องปั้นดินเผาที่มี ชื่อเสียงคือ ศิลาดล เป็นเครื่องเคลือบที่มีความสดใสฝีมือประณีตนิยมเคลือบด้วยสีขาวซึ่งพัฒนาให้สวยงามในยุคโกเรียว เพื่อการอนุรักษ์สิ่งดีงามตั้งแต่อตีด ทางการเกาหลีได้จัดตั้งโครงการสมบัติประจำชาติเกาหลีใต้ขึ้น
ศิลปะของนักปราชญ์ เดิมรูปแบบตัวอักษรเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นอักษรจีน ซึ่งเป็นตัวเขียนที่ยังใช้อยู่ในเอเชียตะวันออกร่วมพันปี แม้ว่าหลังจากที่เกาหลี ประดิษฐ์อักษรฮันกึล ในปี พ.ศ. 1989 (ค.ศ. 1446) ตัวอักษรจีนยังคงใช้ในภาษาราชการ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพราะว่าตัวอักษรจีนมีอยู่นับหมื่นตัว แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน มีวิธีเขียนหลายแบบ หลายความหมาย การเรียนอ่านและการเขียนตัวอักษรจีนไม่ใชเรื่องง่ายศิลปะการเขียนอักษรจีนได้เข้ามาในประเทศเกาหลีเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว
การเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันเกาหลีเรียกว่า "บุดกึลซี" ต้องอาศัยปัจจัย 4 ของนักปราชญ์ ได้แก่ หมึก แท่งหินฝนหมึก พู่กันและกระดาษ ศิลปินเขียนพู่กันส่วนใหญ่มักเป็นทั้งนักปราชญ์และจิตกร ศิลปินเหล่านี้อาจใช้พู่กันเล่มเดียวกันเขียนกลอนบรรยายภาพ ภาพวาดเกาหลี เป็นศิลปะที่มีธรรมเนียมนิยมของตนเองอย่างสมบูรณ์ จิตรกรรม ภาพจิตกรรมของเกาหลีมีมานานแล้ว สถาบันภาพวาดก่อตั้งขึ้นในยุคโกกุริวสถาบันแห่งนี้เน้นภาพวาด ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รูปแบบจิตกรรมที่หลากหลายได้พัฒนาสืบต่อกันมาจนถึงสมัยโซชอน พร้อมนำรูปแบบศิลปะจีนแบบใหม่รวมทั้งเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตก มีการใช้สีสันสดใสในภาพที่วาดเกี่ยวกับศาสนานี้
เครื่องแต่งกายเกาหลี
ชาวเกาหลีมีชุดประจำชาติตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกว่า ฮันบก (ฮันหมายถึงชาวเกาหลี บกหมายถึงชุด รวมกันหมายถึงชุดของชาวเกาหลี) ฮันบกทั้งของผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะหลวมๆเพื่อความสะดวกสบายและคล่องแคล่วไม่ใช้กระดุมหรือขอแต่จะใช้ผ้าผูก ไว้แทน ชุดของผู้ชาย ข้างล่างประกอบด้วย "ปันซือ" แต่สมัยใหม่เรียกว่า "แพนที" ซึ่งหมายถึงกางเกงใน ชั้นนอกสวม "บาจี" เป็นกางเกงขายาวหลวมๆรวบปลายขาไว้ด้วย "แทมิน" เป็นแถบผ้าใช้มัดขากางเกง"บันโซเม" เป็นเสื้อรัดรูปแขนสั้นไว้ข้างใน เสื้อนอกเรียกว่า "จอโกลี" เป็นเสื้อแขนยาวไม่มีปกไม่มีกระเป๋า
ชุดของผู้หญิง ประกอบด้วย "แพนที" หรือกระโปงที่อยู่ข้างใน ข้างบนใช้ "ซ็อกชีมา" เป็นแถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกไว้แทนเสื้อยกทรง ข้างนอกสวม "ชีมา" เป็นกระโปรงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ "จอโกรี" เป็นเสื้อนอกแขนยาว ฮันบกเป็นภาพรวมศิลปะของเกาหลีที่สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนของเกาหลี ราวกับถนน สายแฟชั่นของปารีส ฮันบกชุดแต่งกายประจำชาติของเกาหลีทำจากผ้าสีสัน สดใส เนื้อผ้าจะขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของผู้ใส่ เด็กหญิงหรือหญิงสาวจะสวมกระโปรง สีแดงเสื้อสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นกระโปรงสีแดง เสื้อสีเขียวเมื่อแต่งงานแล้วส่วน หญิงสูงอายุอาจเลือกสีสันต่างๆที่สดใส และเลือกใช้เนื้อผ้าได้หลากหลาย
ปัจจุบันชุดแต่งกายวัฒนธรรมเดิมจะใช้เฉพาะโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่ตามถนนหนทาง และรถไฟใต้ดินจะยังคงเห็นผู้คนสวมใส่กันอยู่บ้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังคงสวมใส่ชุดฮันบกอยู่
ลักษณะปลั๊กไฟที่ใช้ในประเทศเกาหลีใต้
ประเทศเกาหลีใต้ใช้ไฟ 220 V เหมือนบ้านเรา ที่ความถี่ 60 เฮิร์ซ และลักษณะของหัวปลั๊กไฟ และ เต้าเสียบตามโรงแรม และ ออฟฟิต สำนักงานต่าง ๆ จะใช้แบบ Type F สำหรับไฟแบบ 110 V ที่มีลักษณะหัวปลั๊กแบบ Type A และ B ก็ยังมีใช้อยู่ตามอาคารเก่า ๆ อย่างไรตามโรงแรมต่าง ๆ บางส่วนจะมีไฟทั้งแบบ 110 V และ 220 V ให้บริการสำหรับแขก
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเกาหลีใต้
พื้นที่ 99,392 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี (1 ใน 5 ของไทย)
เมืองหลวง กรุงโซล (Seoul)
เมืองที่สำคัญ ปูซาน แตจอน แตกู อินชอน และกวางจู
สมาชิกสหประชาชาติ 17 ก.ย. 2534
หน่วยเงินตรา ประมาณ 1,000 วอน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว
เดือน มิ.ย.- ส.ค. เป็นช่วงที่ฝนตกชุก อุณหภูมิโดยเฉลี่ย -5 C ในฤดูหนาว และ 33 C ในฤดูร้อน
ศาสนา มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ 46% โปรเตสแตนต์ 39% คาทอลิก 13% ขงจื๊อ 1% และอื่นๆ 1%)
งานประติมากรรมเครื่องปั้น
งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา
งานปั้นและแกะสลัก ซึ่งจัดเป็นงานแขนงหนึ่งของศิลปะสาขาประติมากรรม
ซึ่งจัดอยู่ในงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ด จัดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
(Folk Wisdom) ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษา ก ได้นำมาให้
ความรู้ และเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น
อุปกรณ์ วัสดุ ในการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. ดินเหนียว จะต้องเป็นดินเหนียวปราศจากวัชพืช หรือเศษกรวดทรายปนอยู่ใน
เนื้อดิน เนื้อดินต้องมีลักษณะเหนียว มีสีนวลปนเหลือง เนื้อดินจับเป็นก้อนแน่น
ไม่ร่วนซุยผสมด้วยทรายละเอียด ผสมนวดให้เนื้อดินกับทรายให้เข้ากัน
2. แป้นหมุน ใช้สำหรับขึ้นรูปแจกัน โอ่ง อ่าง หม้อ ครก ฯลฯ
3. เหล็กขูด หรือไม้ขูดใช้สำหรับตกแต่ง ขีด ปาด เขียนลวดลายบนภาชนะ
4. ผ้าคลุมดิน ใช้คลุมดินไม่ให้ดินแห้งแข็งเร็วก่อนกำหนด ขณะที่ผลงานยังไม่เสร็จ
5. ไม้แกะสลัก ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับแกะสลักลวดลาย
การแกะสลักลวดลาย
ลายที่แกะสำหรับตกแต่งเครื่องปั้นมี 3 ประเภท ตามลักษณะของวิธีการแต่ง
ลาย คือ
1. ลายที่เกิดจากการขีดหรือสลัก
2. ลายที่เกิดจากการฉลุลายโปร่ง
3. ลายที่เกิดจากการกดให้เนื้อดินนูนขึ้น หรือ
ต่ำลงตามแบบของลาย
ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. นำดินที่นวดแล้ววางบนแป้นหมุนขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการ
2. ตกแต่งรูปทรง ขนาด ความหนาให้เรียบร้อย ใช้กะลา หรือหินขัด ตกแต่งรูปทรง
ให้สมส่วน แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง
3. กำหนดลวดลายที่ต้องการลงบนภาชนะที่ต้องการ
4. ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรือเหล็กขูด แกะตามลายที่กำหนดไว้
5. ตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เศษดินที่ติดตามร่องลายตามซอกลายให้นำออกให้หมด
6. นำภาชนะที่แกะเรียบร้อยแล้วไปผึ่งในที่ร่มโล่ง โปร่ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้
ภาชนะที่ปั้นแตกร้าวได้
7. นำภาชนะแกะตกแต่งที่แห้งแล้วนำไปเข้าเตาเผา เผาด้วยอุณหภูมิประมาณ
800 ํc ถึง 1,000 ํc ใช้เวลาเผาประมาณ 22 - 25 วัน
8. ผลงานที่เผาเสร็จจะมีสีเนื้อดินเป็นสีส้ม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเกาะเกร็ด
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นับเป็นศิลปะอันยอด
เยี่ยม เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพราะผลงานที่
ปรากฏจะมีรูปทรง และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นเกาะเกร็ด พร้อม
ทั้งแสดงถึงความเป็นเลิศทางด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นฝีมือการแกะสลัก
ลวดลายอันสวยงามอ่อนช้อยยอดเยี่ยมของคนพื้นบ้านเชื้อสายไทยรามัญที่ยังคงรักษา
เอกลักษณ์การปั้นดินเผาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน มิให้สูญหายอีกทั้งยังมีการ
พัฒนาด้านฝีมือเทคนิคให้ปรากฏถึงความประณีต สวยงามอันทรงคุณค่าของคนไทย
เชื้อสายรามัญ
งานปั้นและแกะสลัก ซึ่งจัดเป็นงานแขนงหนึ่งของศิลปะสาขาประติมากรรม
ซึ่งจัดอยู่ในงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ด จัดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
(Folk Wisdom) ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษา ก ได้นำมาให้
ความรู้ และเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น
อุปกรณ์ วัสดุ ในการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. ดินเหนียว จะต้องเป็นดินเหนียวปราศจากวัชพืช หรือเศษกรวดทรายปนอยู่ใน
เนื้อดิน เนื้อดินต้องมีลักษณะเหนียว มีสีนวลปนเหลือง เนื้อดินจับเป็นก้อนแน่น
ไม่ร่วนซุยผสมด้วยทรายละเอียด ผสมนวดให้เนื้อดินกับทรายให้เข้ากัน
2. แป้นหมุน ใช้สำหรับขึ้นรูปแจกัน โอ่ง อ่าง หม้อ ครก ฯลฯ
3. เหล็กขูด หรือไม้ขูดใช้สำหรับตกแต่ง ขีด ปาด เขียนลวดลายบนภาชนะ
4. ผ้าคลุมดิน ใช้คลุมดินไม่ให้ดินแห้งแข็งเร็วก่อนกำหนด ขณะที่ผลงานยังไม่เสร็จ
5. ไม้แกะสลัก ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับแกะสลักลวดลาย
การแกะสลักลวดลาย
ลายที่แกะสำหรับตกแต่งเครื่องปั้นมี 3 ประเภท ตามลักษณะของวิธีการแต่ง
ลาย คือ
1. ลายที่เกิดจากการขีดหรือสลัก
2. ลายที่เกิดจากการฉลุลายโปร่ง
3. ลายที่เกิดจากการกดให้เนื้อดินนูนขึ้น หรือ
ต่ำลงตามแบบของลาย
ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. นำดินที่นวดแล้ววางบนแป้นหมุนขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการ
2. ตกแต่งรูปทรง ขนาด ความหนาให้เรียบร้อย ใช้กะลา หรือหินขัด ตกแต่งรูปทรง
ให้สมส่วน แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง
3. กำหนดลวดลายที่ต้องการลงบนภาชนะที่ต้องการ
4. ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรือเหล็กขูด แกะตามลายที่กำหนดไว้
5. ตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เศษดินที่ติดตามร่องลายตามซอกลายให้นำออกให้หมด
6. นำภาชนะที่แกะเรียบร้อยแล้วไปผึ่งในที่ร่มโล่ง โปร่ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้
ภาชนะที่ปั้นแตกร้าวได้
7. นำภาชนะแกะตกแต่งที่แห้งแล้วนำไปเข้าเตาเผา เผาด้วยอุณหภูมิประมาณ
800 ํc ถึง 1,000 ํc ใช้เวลาเผาประมาณ 22 - 25 วัน
8. ผลงานที่เผาเสร็จจะมีสีเนื้อดินเป็นสีส้ม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเกาะเกร็ด
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นับเป็นศิลปะอันยอด
เยี่ยม เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพราะผลงานที่
ปรากฏจะมีรูปทรง และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นเกาะเกร็ด พร้อม
ทั้งแสดงถึงความเป็นเลิศทางด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นฝีมือการแกะสลัก
ลวดลายอันสวยงามอ่อนช้อยยอดเยี่ยมของคนพื้นบ้านเชื้อสายไทยรามัญที่ยังคงรักษา
เอกลักษณ์การปั้นดินเผาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน มิให้สูญหายอีกทั้งยังมีการ
พัฒนาด้านฝีมือเทคนิคให้ปรากฏถึงความประณีต สวยงามอันทรงคุณค่าของคนไทย
เชื้อสายรามัญ
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สถานที่ท่องเที่ยวในภาคที่อีสาน
ภูเขียว | |
ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้ อยู่บนทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ ๗๖ กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอภูเขียวประมาณ ๑ กิโลเมตร สองข้างทางจะเป็นแหล่งจำหน่ายไม้ดัด รูปร่างลักษณะต่าง ๆ มากมายหลายขนาด เหมาะที่จะนำไปปลูกตกแต่งสวน การทำไม้ดัดเป็นอาชีพของชาวบ้านแข้โดยเฉพาะ โดยนำไม้ประเภทข่อย มะสัง ตะโกที่มีอยู่มากในบริเวณนี้มาดัดและตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่สวยงาม และจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา |
ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้ อยู่บนทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ ๗๖ กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอภูเขียวประมาณ ๑ กิโลเมตร สองข้างทางจะเป็นแหล่งจำหน่ายไม้ดัด รูปร่างลักษณะต่าง ๆ มากมายหลายขนาด เหมาะที่จะนำไปปลูกตกแต่งสวน การทำไม้ดัดเป็นอาชีพของชาวบ้านแข้โดยเฉพาะ โดยนำไม้ประเภทข่อย มะสัง ตะโกที่มีอยู่มากในบริเวณนี้มาดัดและตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่สวยงาม และจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา | |
พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๐๕๕ อีก ๙ กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ ๕ กิโลเมตร พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ ๔๕ เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ปรากฏร่องรอยของคูน้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก ๒ ชิ้น สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แหล่งทอผ้าขิตบ้านโนนเสลา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองตูม เป็นแหล่งทอผ้าขิตแหล่งใหญ่ที่สุดของชัยภูมิ จากอำเภอภูเขียวใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๗ ทางไปเกษตรสมบูรณ์ ประมาณ ๘ กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีก ๓ กิโลเมตร ชาวบ้านโนนเสลาสืบทอดการทอผ้าขิตมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย โดยทอผ้าใช้เองแทบทุกครัวเรือน มีการตั้งกลุ่มแม่บ้านขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๑ และได้พัฒนาลวดลาย สีสัน ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีจำหน่ายทั้งผ้าฝ้ายมัดหมี่ ผ้าขิตไหม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ กระเป๋าผ้า และหมอนขิต |
ดอนตาล | |
หอยสมัยหิน มีลักษณะคล้ายหอยสังข์จำนวนมาก ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ ๔๐ ฟุต พบที่โคกหินแดง บ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๔ เลี้ยวซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๗-๑๘ ปากทางเข้าบ้านนาโพธิ์ จากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณีโดยนำหอยไปวัดความหนาแน่นแล้วทำให้ทราบว่า เปลือกโลกบริเวณนี้มีอายุประมาณ ๒๗ ล้านปี ซึ่งขุดพบเป็นแห่งที่ ๓ ของโลก บริเวณที่พบเปลือกหอยนี้ปรากฎว่าเป็นชั้นหินปูนหนาประมาณ ๑ ฟุต เหมาะสำหรับผู้สนใจทางด้านธรณีวิทยา |
เทศกาลและงานประเพณี | |
งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะประกอบด้วยขบวนแห่ของแต่ละอำเภอ ตกแต่งขบวนเป็นรูปเครื่องดนตรีโปงลางขนาดยักษ์ แต่งกายชุดพื้นเมือง แข่งขันสาวดีดไห และจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ |
งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะประกอบด้วยขบวนแห่ของแต่ละอำเภอ ตกแต่งขบวนเป็นรูปเครื่องดนตรีโปงลางขนาดยักษ์ แต่งกายชุดพื้นเมือง แข่งขันสาวดีดไห และจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ | |
งานมหกรรมวิจิตรแพรวาราชินีแห่งไหม จัดขึ้นประมาณวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี ณ โรงแรมริมปาว เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สนับสนุนส่งเสริมและรับงานการทอผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยเข้าไว้ในโครงการ ศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวผู้ไทยอีกด้วย |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม