วันว่างๆ ที่ไร้สาระ

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวในภาคที่อีสาน


ภูเขียว


ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้  อยู่บนทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ ๗๖ กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอภูเขียวประมาณ ๑ กิโลเมตร สองข้างทางจะเป็นแหล่งจำหน่ายไม้ดัด รูปร่างลักษณะต่าง ๆ มากมายหลายขนาด เหมาะที่จะนำไปปลูกตกแต่งสวน การทำไม้ดัดเป็นอาชีพของชาวบ้านแข้โดยเฉพาะ โดยนำไม้ประเภทข่อย มะสัง ตะโกที่มีอยู่มากในบริเวณนี้มาดัดและตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่สวยงาม และจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา


ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้  อยู่บนทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ ๗๖ กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอภูเขียวประมาณ ๑ กิโลเมตร สองข้างทางจะเป็นแหล่งจำหน่ายไม้ดัด รูปร่างลักษณะต่าง ๆ มากมายหลายขนาด เหมาะที่จะนำไปปลูกตกแต่งสวน การทำไม้ดัดเป็นอาชีพของชาวบ้านแข้โดยเฉพาะ โดยนำไม้ประเภทข่อย มะสัง ตะโกที่มีอยู่มากในบริเวณนี้มาดัดและตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่สวยงาม และจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา

พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ  ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๐๕๕ อีก ๙ กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ ๕ กิโลเมตร  พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว

พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ ๔๕ เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น

จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ปรากฏร่องรอยของคูน้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก ๒ ชิ้น สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘

แหล่งทอผ้าขิตบ้านโนนเสลา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองตูม เป็นแหล่งทอผ้าขิตแหล่งใหญ่ที่สุดของชัยภูมิ จากอำเภอภูเขียวใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๗ ทางไปเกษตรสมบูรณ์ ประมาณ ๘ กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีก ๓ กิโลเมตร ชาวบ้านโนนเสลาสืบทอดการทอผ้าขิตมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย โดยทอผ้าใช้เองแทบทุกครัวเรือน มีการตั้งกลุ่มแม่บ้านขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๑ และได้พัฒนาลวดลาย สีสัน ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีจำหน่ายทั้งผ้าฝ้ายมัดหมี่  ผ้าขิตไหม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ กระเป๋าผ้า และหมอนขิต

ดอนตาล

หอยสมัยหิน  มีลักษณะคล้ายหอยสังข์จำนวนมาก ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ ๔๐ ฟุต พบที่โคกหินแดง บ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๔ เลี้ยวซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๗-๑๘ ปากทางเข้าบ้านนาโพธิ์  จากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณีโดยนำหอยไปวัดความหนาแน่นแล้วทำให้ทราบว่า เปลือกโลกบริเวณนี้มีอายุประมาณ ๒๗ ล้านปี ซึ่งขุดพบเป็นแห่งที่ ๓ ของโลก บริเวณที่พบเปลือกหอยนี้ปรากฎว่าเป็นชั้นหินปูนหนาประมาณ ๑ ฟุต เหมาะสำหรับผู้สนใจทางด้านธรณีวิทยา

เทศกาลและงานประเพณี

งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์  จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะประกอบด้วยขบวนแห่ของแต่ละอำเภอ ตกแต่งขบวนเป็นรูปเครื่องดนตรีโปงลางขนาดยักษ์ แต่งกายชุดพื้นเมือง แข่งขันสาวดีดไห และจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ
งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์  จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะประกอบด้วยขบวนแห่ของแต่ละอำเภอ ตกแต่งขบวนเป็นรูปเครื่องดนตรีโปงลางขนาดยักษ์ แต่งกายชุดพื้นเมือง แข่งขันสาวดีดไห และจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ

งานมหกรรมวิจิตรแพรวาราชินีแห่งไหม  จัดขึ้นประมาณวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี
ณ โรงแรมริมปาว เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สนับสนุนส่งเสริมและรับงานการทอผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยเข้าไว้ในโครงการ
ศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวผู้ไทยอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม