วันว่างๆ ที่ไร้สาระ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

งานประติมากรรมเครื่องปั้น

งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา
งานปั้นและแกะสลัก ซึ่งจัดเป็นงานแขนงหนึ่งของศิลปะสาขาประติมากรรม
ซึ่งจัดอยู่ในงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ด จัดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
(Folk Wisdom) ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษา ก ได้นำมาให้
ความรู้ และเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น



อุปกรณ์ วัสดุ ในการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. ดินเหนียว จะต้องเป็นดินเหนียวปราศจากวัชพืช หรือเศษกรวดทรายปนอยู่ใน
เนื้อดิน เนื้อดินต้องมีลักษณะเหนียว มีสีนวลปนเหลือง เนื้อดินจับเป็นก้อนแน่น
ไม่ร่วนซุยผสมด้วยทรายละเอียด ผสมนวดให้เนื้อดินกับทรายให้เข้ากัน
2. แป้นหมุน ใช้สำหรับขึ้นรูปแจกัน โอ่ง อ่าง หม้อ ครก ฯลฯ
3. เหล็กขูด หรือไม้ขูดใช้สำหรับตกแต่ง ขีด ปาด เขียนลวดลายบนภาชนะ
4. ผ้าคลุมดิน ใช้คลุมดินไม่ให้ดินแห้งแข็งเร็วก่อนกำหนด ขณะที่ผลงานยังไม่เสร็จ
5. ไม้แกะสลัก ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับแกะสลักลวดลาย



การแกะสลักลวดลาย
ลายที่แกะสำหรับตกแต่งเครื่องปั้นมี 3 ประเภท ตามลักษณะของวิธีการแต่ง
ลาย คือ
1. ลายที่เกิดจากการขีดหรือสลัก
2. ลายที่เกิดจากการฉลุลายโปร่ง
3. ลายที่เกิดจากการกดให้เนื้อดินนูนขึ้น หรือ
ต่ำลงตามแบบของลาย
ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. นำดินที่นวดแล้ววางบนแป้นหมุนขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการ
2. ตกแต่งรูปทรง ขนาด ความหนาให้เรียบร้อย ใช้กะลา หรือหินขัด ตกแต่งรูปทรง
ให้สมส่วน แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง
3. กำหนดลวดลายที่ต้องการลงบนภาชนะที่ต้องการ
4. ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรือเหล็กขูด แกะตามลายที่กำหนดไว้
5. ตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เศษดินที่ติดตามร่องลายตามซอกลายให้นำออกให้หมด
6. นำภาชนะที่แกะเรียบร้อยแล้วไปผึ่งในที่ร่มโล่ง โปร่ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้
ภาชนะที่ปั้นแตกร้าวได้
7. นำภาชนะแกะตกแต่งที่แห้งแล้วนำไปเข้าเตาเผา เผาด้วยอุณหภูมิประมาณ
800 ํc ถึง 1,000 ํc ใช้เวลาเผาประมาณ 22 - 25 วัน
8. ผลงานที่เผาเสร็จจะมีสีเนื้อดินเป็นสีส้ม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเกาะเกร็ด





เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นับเป็นศิลปะอันยอด
เยี่ยม เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพราะผลงานที่
ปรากฏจะมีรูปทรง และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นเกาะเกร็ด พร้อม
ทั้งแสดงถึงความเป็นเลิศทางด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นฝีมือการแกะสลัก
ลวดลายอันสวยงามอ่อนช้อยยอดเยี่ยมของคนพื้นบ้านเชื้อสายไทยรามัญที่ยังคงรักษา
เอกลักษณ์การปั้นดินเผาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน มิให้สูญหายอีกทั้งยังมีการ
พัฒนาด้านฝีมือเทคนิคให้ปรากฏถึงความประณีต สวยงามอันทรงคุณค่าของคนไทย
เชื้อสายรามัญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม