วันว่างๆ ที่ไร้สาระ
บล็อกของฉัน
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ประวัติศาสตร์
ในประวัติศาสตร์เกาหลี แบ่งเป็นราชอาณาจักรทั้งสาม คืออาณาจักรโกคูรยอ อาณาจักรแพกเจ และอาณาจักรชิลลา ซึ่งปกครองคาบสมุทรเกาหลีและบางส่วนของจีน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาลถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในช่วงหนึ่งศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช คาบสมุทรเกาหลีทั้งหมด และดินแดนส่วนใหญ่ของประเทศจีนอยู่ภายใต้การปกครองของสามอาณาจักร
ราชวงศ์โชซอน เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเกาหลี หลังจากสิ้นสุดรัชสมัยของพระจักรพรรดิซุนจง เกาหลีก็ได้ถูกปกครองโดยญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2453
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีต้องแยกเป็นสองประเทศตามข้อตกลงพอตสดัม (Potsdam) ในปี พ.ศ. 2488 โดยใช้เส้นขนาน 38 และเกาหลีใต้ อยู่ในการดูแลโดยสหรัฐอเมริกา ต่อมาจะต้องผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจหลังจากอยู่ภายใต้การดูแลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ โดยเน้นในเศรษฐกิจเป็นสากลยิ่งขึ้น ยุติการเข้าแทรกแซงของรัฐบาลในธุรกิจเอกชน และให้ความยุติธรรมต่อภาคเอกชนทุกแห่ง และเร่งสร้างความร่วมมือระหว่างเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ให้อยู่ร่วมอย่างสันติ
เกี่ยวกับประชากรเกาหลีใต้
เชื้อชาติ : ประเทศเกาหลีแทบจะไม่มีชนชาติอื่นนอกจากคนเกาหลีเอง แต่ก็มีชาวจีนประมาณ 3 หมื่นคน ซึ่งอยู่ตามเขตเมืองหลวงมาช้านานแล้ว และยังมีชาวฟิลิปปินส์อีก 72,000 คน
ศาสนา : ชาวเกาหลีใต้ไม่มีศาสนาประมาณ 46 % ศาสนาคริสต์ 26 % ศาสนาพุทธ 26 % ลัทธิขงจื๊อ 1 % ศาสนาชอนโดเกียว ศาสนาอิสลาม และอื่นๆ 1 %
วัฒนธรรม
ศิลปะเกาหลีมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้เกิดแบบของตัวเอง ศิลปะเกาหลียกย่องธรรมชาติ และการใช้สีอ่อนและเรียบก็ปรากฏอยู่เสมอในภาพเขียนและเครื่องปั้นแบบเกาหลี
ศิลปะเกาหลี
ศิลปะเกาหลีมีลักษณะเด่นหลายประการที่ทำให้เกิดแบบของตัวเอง ศิลปะเกาหลียกย่องธรรมชาติ และการใช้สีอ่อนและเรียบก็ปรากฏอยู่เสมอในภาพเขียนและเครื่องปั้นแบบเกาหลีวัฒนธรรม งานหัตธรรมพื้นบ้านคือศิลปะที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปีงานไม้และเครื่องเขินของเกาหลีเป็นที่รู้จักกันดี โดยเน้นการออกแบบที่เพื่อประโยชน์ใช้สอยและความเรียบง่ายสิ่งสะดุดตาในงานไม้เกาหลีคือศิลปะการประดับมุก งานหัตกรรมโลหะทำด้วยทองทำด้วยสำริด ทางด้านพระพุทธศาสนามีการสร้างพระพุทธรูปสำริด ระฆังวัดที่หล่อด้วยสำริด เอกลักษณ์ของระฆัง เกาหลีคือรูปร่างการออกแบบและเสียง ศิลปะเครื่องปั้นดินเผาเกาหลีเป็นประเทศที่เป็นที่ยอมรับในการพัฒนาศิลปะด้านนี้และเครื่องปั้นดินเผาที่มี ชื่อเสียงคือ ศิลาดล เป็นเครื่องเคลือบที่มีความสดใสฝีมือประณีตนิยมเคลือบด้วยสีขาวซึ่งพัฒนาให้สวยงามในยุคโกเรียว เพื่อการอนุรักษ์สิ่งดีงามตั้งแต่อตีด ทางการเกาหลีได้จัดตั้งโครงการสมบัติประจำชาติเกาหลีใต้ขึ้น
ศิลปะของนักปราชญ์ เดิมรูปแบบตัวอักษรเกาหลีและญี่ปุ่นเป็นอักษรจีน ซึ่งเป็นตัวเขียนที่ยังใช้อยู่ในเอเชียตะวันออกร่วมพันปี แม้ว่าหลังจากที่เกาหลี ประดิษฐ์อักษรฮันกึล ในปี พ.ศ. 1989 (ค.ศ. 1446) ตัวอักษรจีนยังคงใช้ในภาษาราชการ จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพราะว่าตัวอักษรจีนมีอยู่นับหมื่นตัว แต่ละตัวมีความแตกต่างกัน มีวิธีเขียนหลายแบบ หลายความหมาย การเรียนอ่านและการเขียนตัวอักษรจีนไม่ใชเรื่องง่ายศิลปะการเขียนอักษรจีนได้เข้ามาในประเทศเกาหลีเมื่อ 1,500 ปีมาแล้ว
การเขียนตัวอักษรด้วยพู่กันเกาหลีเรียกว่า "บุดกึลซี" ต้องอาศัยปัจจัย 4 ของนักปราชญ์ ได้แก่ หมึก แท่งหินฝนหมึก พู่กันและกระดาษ ศิลปินเขียนพู่กันส่วนใหญ่มักเป็นทั้งนักปราชญ์และจิตกร ศิลปินเหล่านี้อาจใช้พู่กันเล่มเดียวกันเขียนกลอนบรรยายภาพ ภาพวาดเกาหลี เป็นศิลปะที่มีธรรมเนียมนิยมของตนเองอย่างสมบูรณ์ จิตรกรรม ภาพจิตกรรมของเกาหลีมีมานานแล้ว สถาบันภาพวาดก่อตั้งขึ้นในยุคโกกุริวสถาบันแห่งนี้เน้นภาพวาด ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รูปแบบจิตกรรมที่หลากหลายได้พัฒนาสืบต่อกันมาจนถึงสมัยโซชอน พร้อมนำรูปแบบศิลปะจีนแบบใหม่รวมทั้งเทคนิคการวาดภาพแบบตะวันตก มีการใช้สีสันสดใสในภาพที่วาดเกี่ยวกับศาสนานี้
เครื่องแต่งกายเกาหลี
ชาวเกาหลีมีชุดประจำชาติตั้งแต่สมัยโบราณ เรียกว่า ฮันบก (ฮันหมายถึงชาวเกาหลี บกหมายถึงชุด รวมกันหมายถึงชุดของชาวเกาหลี) ฮันบกทั้งของผู้หญิงและผู้ชายมีลักษณะหลวมๆเพื่อความสะดวกสบายและคล่องแคล่วไม่ใช้กระดุมหรือขอแต่จะใช้ผ้าผูก ไว้แทน ชุดของผู้ชาย ข้างล่างประกอบด้วย "ปันซือ" แต่สมัยใหม่เรียกว่า "แพนที" ซึ่งหมายถึงกางเกงใน ชั้นนอกสวม "บาจี" เป็นกางเกงขายาวหลวมๆรวบปลายขาไว้ด้วย "แทมิน" เป็นแถบผ้าใช้มัดขากางเกง"บันโซเม" เป็นเสื้อรัดรูปแขนสั้นไว้ข้างใน เสื้อนอกเรียกว่า "จอโกลี" เป็นเสื้อแขนยาวไม่มีปกไม่มีกระเป๋า
ชุดของผู้หญิง ประกอบด้วย "แพนที" หรือกระโปงที่อยู่ข้างใน ข้างบนใช้ "ซ็อกชีมา" เป็นแถบผ้าขนาดใหญ่ ใช้มัดทรวงอกไว้แทนเสื้อยกทรง ข้างนอกสวม "ชีมา" เป็นกระโปรงยาวกรอมเท้า สวมเสื้อ "จอโกรี" เป็นเสื้อนอกแขนยาว ฮันบกเป็นภาพรวมศิลปะของเกาหลีที่สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนนของเกาหลี ราวกับถนน สายแฟชั่นของปารีส ฮันบกชุดแต่งกายประจำชาติของเกาหลีทำจากผ้าสีสัน สดใส เนื้อผ้าจะขึ้นอยู่กับโอกาสและวัยของผู้ใส่ เด็กหญิงหรือหญิงสาวจะสวมกระโปรง สีแดงเสื้อสีเหลืองจะเปลี่ยนเป็นกระโปรงสีแดง เสื้อสีเขียวเมื่อแต่งงานแล้วส่วน หญิงสูงอายุอาจเลือกสีสันต่างๆที่สดใส และเลือกใช้เนื้อผ้าได้หลากหลาย
ปัจจุบันชุดแต่งกายวัฒนธรรมเดิมจะใช้เฉพาะโอกาสพิเศษเท่านั้น แต่ตามถนนหนทาง และรถไฟใต้ดินจะยังคงเห็นผู้คนสวมใส่กันอยู่บ้าง โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังคงสวมใส่ชุดฮันบกอยู่
ลักษณะปลั๊กไฟที่ใช้ในประเทศเกาหลีใต้
ประเทศเกาหลีใต้ใช้ไฟ 220 V เหมือนบ้านเรา ที่ความถี่ 60 เฮิร์ซ และลักษณะของหัวปลั๊กไฟ และ เต้าเสียบตามโรงแรม และ ออฟฟิต สำนักงานต่าง ๆ จะใช้แบบ Type F สำหรับไฟแบบ 110 V ที่มีลักษณะหัวปลั๊กแบบ Type A และ B ก็ยังมีใช้อยู่ตามอาคารเก่า ๆ อย่างไรตามโรงแรมต่าง ๆ บางส่วนจะมีไฟทั้งแบบ 110 V และ 220 V ให้บริการสำหรับแขก
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเกาหลีใต้
พื้นที่ 99,392 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี (1 ใน 5 ของไทย)
เมืองหลวง กรุงโซล (Seoul)
เมืองที่สำคัญ ปูซาน แตจอน แตกู อินชอน และกวางจู
สมาชิกสหประชาชาติ 17 ก.ย. 2534
หน่วยเงินตรา ประมาณ 1,000 วอน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว
เดือน มิ.ย.- ส.ค. เป็นช่วงที่ฝนตกชุก อุณหภูมิโดยเฉลี่ย -5 C ในฤดูหนาว และ 33 C ในฤดูร้อน
ศาสนา มีประชากรนับถือศาสนาพุทธ 46% โปรเตสแตนต์ 39% คาทอลิก 13% ขงจื๊อ 1% และอื่นๆ 1%)
งานประติมากรรมเครื่องปั้น
งานประติมากรรมเครื่องปั้นดินเผา
งานปั้นและแกะสลัก ซึ่งจัดเป็นงานแขนงหนึ่งของศิลปะสาขาประติมากรรม
ซึ่งจัดอยู่ในงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ด จัดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
(Folk Wisdom) ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษา ก ได้นำมาให้
ความรู้ และเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น
อุปกรณ์ วัสดุ ในการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. ดินเหนียว จะต้องเป็นดินเหนียวปราศจากวัชพืช หรือเศษกรวดทรายปนอยู่ใน
เนื้อดิน เนื้อดินต้องมีลักษณะเหนียว มีสีนวลปนเหลือง เนื้อดินจับเป็นก้อนแน่น
ไม่ร่วนซุยผสมด้วยทรายละเอียด ผสมนวดให้เนื้อดินกับทรายให้เข้ากัน
2. แป้นหมุน ใช้สำหรับขึ้นรูปแจกัน โอ่ง อ่าง หม้อ ครก ฯลฯ
3. เหล็กขูด หรือไม้ขูดใช้สำหรับตกแต่ง ขีด ปาด เขียนลวดลายบนภาชนะ
4. ผ้าคลุมดิน ใช้คลุมดินไม่ให้ดินแห้งแข็งเร็วก่อนกำหนด ขณะที่ผลงานยังไม่เสร็จ
5. ไม้แกะสลัก ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับแกะสลักลวดลาย
การแกะสลักลวดลาย
ลายที่แกะสำหรับตกแต่งเครื่องปั้นมี 3 ประเภท ตามลักษณะของวิธีการแต่ง
ลาย คือ
1. ลายที่เกิดจากการขีดหรือสลัก
2. ลายที่เกิดจากการฉลุลายโปร่ง
3. ลายที่เกิดจากการกดให้เนื้อดินนูนขึ้น หรือ
ต่ำลงตามแบบของลาย
ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. นำดินที่นวดแล้ววางบนแป้นหมุนขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการ
2. ตกแต่งรูปทรง ขนาด ความหนาให้เรียบร้อย ใช้กะลา หรือหินขัด ตกแต่งรูปทรง
ให้สมส่วน แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง
3. กำหนดลวดลายที่ต้องการลงบนภาชนะที่ต้องการ
4. ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรือเหล็กขูด แกะตามลายที่กำหนดไว้
5. ตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เศษดินที่ติดตามร่องลายตามซอกลายให้นำออกให้หมด
6. นำภาชนะที่แกะเรียบร้อยแล้วไปผึ่งในที่ร่มโล่ง โปร่ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้
ภาชนะที่ปั้นแตกร้าวได้
7. นำภาชนะแกะตกแต่งที่แห้งแล้วนำไปเข้าเตาเผา เผาด้วยอุณหภูมิประมาณ
800 ํc ถึง 1,000 ํc ใช้เวลาเผาประมาณ 22 - 25 วัน
8. ผลงานที่เผาเสร็จจะมีสีเนื้อดินเป็นสีส้ม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเกาะเกร็ด
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นับเป็นศิลปะอันยอด
เยี่ยม เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพราะผลงานที่
ปรากฏจะมีรูปทรง และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นเกาะเกร็ด พร้อม
ทั้งแสดงถึงความเป็นเลิศทางด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นฝีมือการแกะสลัก
ลวดลายอันสวยงามอ่อนช้อยยอดเยี่ยมของคนพื้นบ้านเชื้อสายไทยรามัญที่ยังคงรักษา
เอกลักษณ์การปั้นดินเผาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน มิให้สูญหายอีกทั้งยังมีการ
พัฒนาด้านฝีมือเทคนิคให้ปรากฏถึงความประณีต สวยงามอันทรงคุณค่าของคนไทย
เชื้อสายรามัญ
งานปั้นและแกะสลัก ซึ่งจัดเป็นงานแขนงหนึ่งของศิลปะสาขาประติมากรรม
ซึ่งจัดอยู่ในงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาบ้านเกาะเกร็ด จัดเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน
(Folk Wisdom) ที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน วิชาศิลปศึกษา ก ได้นำมาให้
ความรู้ และเผยแพร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น
อุปกรณ์ วัสดุ ในการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. ดินเหนียว จะต้องเป็นดินเหนียวปราศจากวัชพืช หรือเศษกรวดทรายปนอยู่ใน
เนื้อดิน เนื้อดินต้องมีลักษณะเหนียว มีสีนวลปนเหลือง เนื้อดินจับเป็นก้อนแน่น
ไม่ร่วนซุยผสมด้วยทรายละเอียด ผสมนวดให้เนื้อดินกับทรายให้เข้ากัน
2. แป้นหมุน ใช้สำหรับขึ้นรูปแจกัน โอ่ง อ่าง หม้อ ครก ฯลฯ
3. เหล็กขูด หรือไม้ขูดใช้สำหรับตกแต่ง ขีด ปาด เขียนลวดลายบนภาชนะ
4. ผ้าคลุมดิน ใช้คลุมดินไม่ให้ดินแห้งแข็งเร็วก่อนกำหนด ขณะที่ผลงานยังไม่เสร็จ
5. ไม้แกะสลัก ทำด้วยไม้ไผ่ ใช้สำหรับแกะสลักลวดลาย
การแกะสลักลวดลาย
ลายที่แกะสำหรับตกแต่งเครื่องปั้นมี 3 ประเภท ตามลักษณะของวิธีการแต่ง
ลาย คือ
1. ลายที่เกิดจากการขีดหรือสลัก
2. ลายที่เกิดจากการฉลุลายโปร่ง
3. ลายที่เกิดจากการกดให้เนื้อดินนูนขึ้น หรือ
ต่ำลงตามแบบของลาย
ขั้นตอนการทำเครื่องปั้นดินเผา
1. นำดินที่นวดแล้ววางบนแป้นหมุนขึ้นรูปทรงตามที่ต้องการ
2. ตกแต่งรูปทรง ขนาด ความหนาให้เรียบร้อย ใช้กะลา หรือหินขัด ตกแต่งรูปทรง
ให้สมส่วน แล้วนำมาผึ่งให้แห้ง
3. กำหนดลวดลายที่ต้องการลงบนภาชนะที่ต้องการ
4. ใช้เครื่องมือที่ทำด้วยไม้ไผ่ หรือเหล็กขูด แกะตามลายที่กำหนดไว้
5. ตกแต่งลวดลายให้สวยงาม เศษดินที่ติดตามร่องลายตามซอกลายให้นำออกให้หมด
6. นำภาชนะที่แกะเรียบร้อยแล้วไปผึ่งในที่ร่มโล่ง โปร่ง ห้ามตากแดด เพราะจะทำให้
ภาชนะที่ปั้นแตกร้าวได้
7. นำภาชนะแกะตกแต่งที่แห้งแล้วนำไปเข้าเตาเผา เผาด้วยอุณหภูมิประมาณ
800 ํc ถึง 1,000 ํc ใช้เวลาเผาประมาณ 22 - 25 วัน
8. ผลงานที่เผาเสร็จจะมีสีเนื้อดินเป็นสีส้ม อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเกาะเกร็ด
เครื่องปั้นดินเผาของชาวเกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นับเป็นศิลปะอันยอด
เยี่ยม เป็นที่ยอมรับกันแพร่หลาย ทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ เพราะผลงานที่
ปรากฏจะมีรูปทรง และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่นเกาะเกร็ด พร้อม
ทั้งแสดงถึงความเป็นเลิศทางด้านภูมิปัญญาชาวบ้าน ไม่ว่าจะเป็นฝีมือการแกะสลัก
ลวดลายอันสวยงามอ่อนช้อยยอดเยี่ยมของคนพื้นบ้านเชื้อสายไทยรามัญที่ยังคงรักษา
เอกลักษณ์การปั้นดินเผาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน มิให้สูญหายอีกทั้งยังมีการ
พัฒนาด้านฝีมือเทคนิคให้ปรากฏถึงความประณีต สวยงามอันทรงคุณค่าของคนไทย
เชื้อสายรามัญ
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สถานที่ท่องเที่ยวในภาคที่อีสาน
ภูเขียว | |
ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้ อยู่บนทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ ๗๖ กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอภูเขียวประมาณ ๑ กิโลเมตร สองข้างทางจะเป็นแหล่งจำหน่ายไม้ดัด รูปร่างลักษณะต่าง ๆ มากมายหลายขนาด เหมาะที่จะนำไปปลูกตกแต่งสวน การทำไม้ดัดเป็นอาชีพของชาวบ้านแข้โดยเฉพาะ โดยนำไม้ประเภทข่อย มะสัง ตะโกที่มีอยู่มากในบริเวณนี้มาดัดและตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่สวยงาม และจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา |
ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้ อยู่บนทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ ๗๖ กิโลเมตร หรือก่อนถึงอำเภอภูเขียวประมาณ ๑ กิโลเมตร สองข้างทางจะเป็นแหล่งจำหน่ายไม้ดัด รูปร่างลักษณะต่าง ๆ มากมายหลายขนาด เหมาะที่จะนำไปปลูกตกแต่งสวน การทำไม้ดัดเป็นอาชีพของชาวบ้านแข้โดยเฉพาะ โดยนำไม้ประเภทข่อย มะสัง ตะโกที่มีอยู่มากในบริเวณนี้มาดัดและตัดแต่งให้เป็นรูปทรงที่สวยงาม และจำหน่ายในราคาที่ย่อมเยา | |
พระธาตุหนองสามหมื่น เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญและน่าสนใจมากแห่งหนึ่งของชัยภูมิ ตั้งอยู่ที่บ้านแก้ง จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๒๐๕๕ อีก ๙ กิโลเมตรถึงบ้านแก้งและแยกซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นอีกประมาณ ๕ กิโลเมตร พระธาตุหนองสามหมื่น เรียกชื่อตามหนองน้ำ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระธาตุที่มีลักษณะสวยงาม และสมบูรณ์ที่สุดองค์หนึ่ง ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่จากลักษณะทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมที่ปรากฏเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศิลปล้านนา ล้านช้าง และอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ ในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชแห่งราชอาณาจักรลาว พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ ๔๕ เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่นๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๖ ปรากฏร่องรอยของคูน้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๔ และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก ๒ ชิ้น สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ แหล่งทอผ้าขิตบ้านโนนเสลา ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองตูม เป็นแหล่งทอผ้าขิตแหล่งใหญ่ที่สุดของชัยภูมิ จากอำเภอภูเขียวใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๗ ทางไปเกษตรสมบูรณ์ ประมาณ ๘ กิโลเมตร มีทางแยกขวาอีก ๓ กิโลเมตร ชาวบ้านโนนเสลาสืบทอดการทอผ้าขิตมาแต่ครั้งปู่ย่าตายาย โดยทอผ้าใช้เองแทบทุกครัวเรือน มีการตั้งกลุ่มแม่บ้านขึ้นเมื่อปี ๒๕๒๑ และได้พัฒนาลวดลาย สีสัน ผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด มีจำหน่ายทั้งผ้าฝ้ายมัดหมี่ ผ้าขิตไหม ผ้าคลุมไหล่ ผ้าปูโต๊ะ กระเป๋าผ้า และหมอนขิต |
ดอนตาล | |
หอยสมัยหิน มีลักษณะคล้ายหอยสังข์จำนวนมาก ฝังอยู่ในดินลึกประมาณ ๔๐ ฟุต พบที่โคกหินแดง บ้านนายอ ตำบลเหล่าหมี อำเภอดอนตาล การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข ๒๐๓๔ เลี้ยวซ้ายตรงหลักกิโลเมตรที่ ๑๗-๑๘ ปากทางเข้าบ้านนาโพธิ์ จากการวิจัยของกรมทรัพยากรธรณีโดยนำหอยไปวัดความหนาแน่นแล้วทำให้ทราบว่า เปลือกโลกบริเวณนี้มีอายุประมาณ ๒๗ ล้านปี ซึ่งขุดพบเป็นแห่งที่ ๓ ของโลก บริเวณที่พบเปลือกหอยนี้ปรากฎว่าเป็นชั้นหินปูนหนาประมาณ ๑ ฟุต เหมาะสำหรับผู้สนใจทางด้านธรณีวิทยา |
เทศกาลและงานประเพณี | |
งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะประกอบด้วยขบวนแห่ของแต่ละอำเภอ ตกแต่งขบวนเป็นรูปเครื่องดนตรีโปงลางขนาดยักษ์ แต่งกายชุดพื้นเมือง แข่งขันสาวดีดไห และจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ |
งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จัดขึ้นปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด ภายในงานจะประกอบด้วยขบวนแห่ของแต่ละอำเภอ ตกแต่งขบวนเป็นรูปเครื่องดนตรีโปงลางขนาดยักษ์ แต่งกายชุดพื้นเมือง แข่งขันสาวดีดไห และจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองต่างๆ | |
งานมหกรรมวิจิตรแพรวาราชินีแห่งไหม จัดขึ้นประมาณวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี ณ โรงแรมริมปาว เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงโปรดเกล้าฯ สนับสนุนส่งเสริมและรับงานการทอผ้าไหมแพรวาของชาวผู้ไทยเข้าไว้ในโครงการ ศิลปาชีพในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนทำให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างอาชีพและรายได้ให้กับชาวผู้ไทยอีกด้วย |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม